วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2552

การเลี้ยงปลาดุก
ปัจจุบันนี้ พบว่า ปลาดุกมีขายอยู่ตามท้องตลาดทั่วไปและมีราคาสูง เนื่องจากความนิยมของประชาชนและค่านิยมในการเลี้ยงได้ลดน้อยลง แต่การเลี้ยงสามารถเลี้ยงได้ง่าย โตเร็ว และอดทนต่อสภาพแวดล้อมจึงทำให้มีผู้ที่สนใจในการเลี้ยงมากขึ้นในปัจจุบัน การเลี้ยงปลาดุกในปัจจุบันปลาดุกที่นิยมเลี้ยงกันมากคือ ปลาดุกลูกผสมหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "บิ๊กอุย"ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างปลาดุกอุยกับปลาดุกรัสเซีย(ดุกยักษ์ หรือดุกเทศ) ซึ่งปลาดุกลูกผสมนี้จะเลี้ยงง่ายโตเร็วและต้านทานโรคได้ดี
วิธีการเลี้ยงและการให้อาหาร
บ่อเลี้ยงปลาดุกควรพิจารณาเป็นพิเศษ แตกต่างจากการเลี้ยงปลาชนิดอื่น ทั้งนี้ทั้งนั้น เนื่องจากปลาดุกมีนิสัยชอบหนีออกจากบ่อเลี้ยง โดยเฉพาะขณะที่ฝนตกน้ำไหลลงในบ่อ ปลาจะว่ายทวนน้ำออกไป การป้องกันโดยการล้อมขอบบ่อด้วยตาข่ายไนล่อนก่อน ซึ่งให้มีความสูงประมาณ 50 ซม. อัตราการปล่อยในเนื้อที่ 1 ตารางเมตร ควรปล่อยปลาประมาณ 60 ตัว สำหรับบ่อปลาที่มีการถ่ายเทน้ำได้สะดวก จะเพิ่มจำนวนปลาให้มากกว่านี้เล็กน้อยก็ได้ แต่ไม่ควรปล่อยปลาให้แน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้ปลาโตช้าและทำอันตรายกันเอง

อาหาร
ปลาดุกเป็นปลาที่มีนิสัยการกินอาหารได้ทั้งเนื้อและพืช ซึ่งพอจะแบ่งได้ดังนี้1. อาหารจำพวกเนื้อ ได้แก่ เนื้อปลา เนื้อสัตว์ต่างๆ ที่เหมาะสมตามที่จะหาได้ หรือเครื่องในสัตว์ตลอดจนเลือดสัตว์ และพวกแมลง เช่น ปลวก หนอน ไส้เดือนฯลฯ2. อาหารจำพวกพืชผัก ได้แก่ รำข้าว ปลายข้าว กากถั่ว กากมัน แป้ง ข้าวโพด และผักต่างๆ เพื่อเป็นการเพิ่มอาหาร อาจให้มูลสัตว์ เช่น มูลไก่ มูลหมู มูลสัตว์เหล่านี้จะเป็นอาหารทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่ปลาดุกได้เป็นอย่างดีโดยทั่วไปแล้วปลาดุกชอบกินอาหารประเภทเนื้อสัตว์ มากกว่าอาหารประเภทพืช แต่การให้อาหารประเภทเนื้อสัตว์เพียงอย่างเดียว จะทำให้ปลาเจริญเติบโตไม่ได้สัดส่วน เช่น อาจทำให้ตัวอ้วนสั้น มีไขมันมากเกินไป ดังนั้น เพื่อให้ปลาโตได้สัดส่วนมีน้ำหนักดี ควรให้อาหารประเภทเนื้อในอัตรา 30-50 % ของอาหารประเภทพืชบริเวณที่ให้อาหารในแต่ละครั้งควรให้อาหารในที่เดียวกัน และควรให้อาหารเป็นเวลา เพื่อฝึกให้ปลารู้เวลาและกินอาหารเป็นที่ ปริมาณการให้อาหารควรให้อาหาร 5 % ของน้ำหนักตัวต่อวันปัจจุบันการเลี้ยงปลาดุกจะใช้อาหารสำเร็จรูปและจะเสริมพวกอาหารสด เพื่อเป็นการลดต้นทุนค่าอาหาร และทำให้ปลาโตเร็ว แต่ข้อเสียของการให้อาหารสดคือ จะทำให้น้ำเสียได้ง่าย ดังนั้นควรมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อยๆ ประมาณเดือนละ 1-2 ครั้ง

วิธีการเตรียมบ่อ
1. บ่อใหม่ ปกติแล้วดินจะมีสภาพเป็นกรดอ่อนๆ หรืออาจมีสภาพเป็นกรดสูง ขึ้นอยู่กับลักษณะท้องที่ ฉนั้นควรใส่ปูนขาวในอัตรา 1 กก. ต่อพื้นที่ 10-25 ตารางเมตร โดยสาดปูนขาวให้ทั่วบ่อแล้วตากบ่อไว้ประมาณ 7-10 วัน จึงสูบน้ำเข้าบ่อตามระดับที่ต้องการ แต่ควรมีระดับน้ำลึกประมาณ 50 ซม. แล้วจึงปล่อยปลาลงเลี้ยง2. บ่อเก่า สำหรับบ่อเก่าควรสูบน้ำให้แห้งแล้วตากบ่อประมาณ 10-15 วัน พร้อมทั้งโรยปูนขาวให้ทั่วบ่อ ในอัตราส่วนปูนขาว 1 กก. ต่อพื้นที่ 10 ตารางเมตร เพื่อให้แสงแดดทำลายเชื้อโรคต่างๆ ที่มีอยู่เดิม เมื่อเลี้ยงปลาดุกได้ประมาณ 3-4 รุ่น ควรลอกเลนและทำคันบ่อใหม่ เนื่องจากบ่ออาจตื้นเขินและขอบดินอาจเป็นรูหรือโพรง ทำให้บ่อเก็บกักน้ำไม่อยู่
การเลี้ยงแมว


แมวออกลูกแมวที่ออกลูกครั้งละ 3 ตัวขึ้นไป หากแม่แมวไม่กินเก่ง หรือแม่แมวไม่อ้วน มีโอกาสที่ลูกแมวจะไม่มีนมกิน และจะตายทั้ง 3 ตัวแม่แมวที่พิการ หรือมี 3 ขา อาจจะนอนทับลูกคอหักได้เมื่อแม่แมวออกลูก เพื่อให้แม่แมวมีนมไปเลี้ยงลูกทั้ง 4 ตัว ควรให้กินอาหาร 3 มื้อ และให้กินนมกล่องประมาณ ครึ่งกล่อง และอาจจะให้กินตับไก่ด้วยก็ได้ และควรให้กินน้ำที่สะอาดควรเลี้ยงลูกแมวที่เกิดใหม่ไว้ในที่ปลอดภัย อย่าให้แมวที่นิสัยดุเข้าใกล้ จากประสบการณ์ ผมกำลังดูแมวเกิดใหม่ อยู่ดีๆแมวดุก็กระโดดเข้ามา กัดคอ ลูกแมวตายต่อหน้าผมเลย แมวที่นิสัยดุ อาจจะเป็นแมวตัวผู้ หรือ แมวตัวเมียที่ทำหมันมานานแล้วคอยสังเกตุว่า ลูกแมวตัวไหนดูดนมไม่ทันเพื่อน ให้พยายามดึงแมวที่ดูดเก่งออกมารอประมาณ 20 นาที แล้วจึงนำกลับไปดูดนมต่อ (อย่าลืมนำแมวดูดนมเก่งกลับไปดูดนมต่อนะครับ เพราะถ้าแมวที่ดูดนมเก่งไม่ได้ดูดนม อาจจะอดอาหาร และตายในที่สุด แม้จะดูดเก่งก็ตาม) การสังเกตุนี้ต้องสังเกตุติดต่อกัน 3 เดือนตั้งแต่แรกเกิด ลูกแมวถึงจะไม่ตายการเลี้ยงลูกแมวเกิดใหม่ แม้เลี้ยงผ่านมา 1 เดือนแล้ว ดูแข็งแรงดี แต่หากเราไม่เอาใจใส่ ลูกแมวที่แข็งแรงอาจตายได้ (อันนี้เรื่องจริง) เราต้องเอาใจใส่มันทุกวันและทุกตัว หากสังเกตุลูกแมวตัวไหนไม่สบายต้องรีบหาทางแก้ทันทีดูแลที่อยู่ที่นอนของลูกแมว อย่าให้เปียกชื้น หรือมีกลิ่นเหม็น ควรให้ลูกแมวนอนในกล่องกระดาษที่ปูเศษผ้าไว้พอประมาณ และเปลี่ยนเศษผ้าทุก 2 วันหากลูกแมวหรือแม่แมวเป็นหวัดให้อ่านวิธีแก้ในหัวข้อ โรคของแมวลูกแมวต้องเลี้ยงเกิน 2 เดือนจนกระทั่งตัวโต จึงจะเริ่มให้อาหารได้ ก่อนเริ่มให้อาหาร 1 สัปดาห์ ควรหัดให้เลียน้ำด้วยตัวเองก่อน ในการให้อาหาร อย่าให้อาหารที่ชิ้นโต เพราะอาจติดคอลูกแมวตายได้ (หลังจากลูกแมวตายผมเห็น ฮ็อทด็อก ไหลออกมาจากคอ ผมไม่น่าป้อน ฮ็อทด็อก มันเลย)แม้แมวที่เกิดจะเป็นแมวดำก็อย่ารังเกียจมัน ตอนนี้ผมก็เลี้ยงอยู่ 2 ตัว มันเป็นลูกของไอ้สีสวาทฯลฯ
การทำหมันแมวควรนำแมวตัวเมียไปผ่าตัดทำหมัน (เสียเงินประมาณ 600 บาท) อย่าใช้วิธีฉีดยา แมวที่ฉีดยา(ทุกแบบที่เกี่ยวกับทำหมัน)จะเฉาตายภายใน 2 เดือน (จากประสบการณ์)ควรทำหมันแมวหลังจากแมวออกลูกแล้ว 2 เดือน และก่อนที่มันจะผสมพันธ์ และไม่ควรทำหมันแมวที่ยังเด็ก ควรให้มันเป็นแมวผู้ใหญ่ก่อนแล้วจึงนำไปผ่าตัดทำหมัน
ที่อยู่อาศัยของแมวตอนกลางวันควรให้แมวอยู่อย่างอิสระ ในบ้านหรือนอกบ้านก็ได้ ตอนกลางคืนควรขังรวมกันไว้ในกรงกรงแมวต้องมีขนาดใหญ่ (1x1x1 เมตร) และมี 2 ชั้น ดังรูป
หมายเลข 4 สำหรับให้แมวขับถ่าย และเป็นพื้นปูนลาดเอียง เพื่อให้ลาดน้ำล้างได้สะดวกหมายเลข 3 สำหรับให้แมวนอนเวลากลางคืน ควรมีถังน้ำวางอยู่มุมใดมุมหนึ่งด้วย ไม่ควรให้แมวกินอาหารในกรงหมายเลข 2 เป็นตาข่ายธรรมดากันแมวออกจากกรงหมายเลข 1 ควรเป็นเพดานที่กันฝนได้ทั้งกรง และสามารถเปิดออกได้ เพื่อให้แสงสว่างช่วยฆ่าเชื้อโรคในกรงเวลากลางวันผมเคยเลี้ยงแมวตาย 7 ตัว มันค่อยๆตายทีละตัว ทีแรกคิดว่ามันเป็นโรคพิษสุนัขบ้า เลยขังมันไว้ในกรง (ไม่ใช่แบบในตัวอย่าง เป็นกรงที่แมวทั้งขี้และกินในที่เดียวกัน) เห็นมันดิ้นไปดิ้นมาแล้วก็ตาย ผมพยายามหาทางแก้ จนกระทั่งแมวตายผ่านไปแล้ว 7 ตัว ผมถึงสังเกตุเห็นว่า แมวที่นอนนอกกรงเวลากลางคืนยังแข็งแรงดี ส่วนแมวที่นอนในกรงจะค่อยๆป่วยทีละตัว ดังนั้นผมจึงรื้อกรงนั้นทิ้ง และย้ายให้แมวไปนอนที่อื่น แมวที่เหลือจึงรอดตาย สาเหตุคงเป็นเพราะ ขี้และเยี่ยวที่หมักหมมในกรงเป็นเวลานาน ส่งกลิ่นบางอย่าง ทำให้แมวป่วยอย่างร้ายแรงการเลี้ยงแมวในบ้าน แมวชอบขี้และเยี่ยวในที่ๆมีกลิ่นเหม็นหรือเป็นจุดอับ หากต้องการให้แมวขับถ่ายเป็นที่เป็นทาง ควรเตรียมกระบะทรายหรือขี้เถ้าไว้ในบ้านด้วย สำหรับแมวตัวผู้ที่โตแล้ว จะเยี่ยวไม่เลือกที่
โรคของแมวแมวผม 2 ตัวชอบกินเศษอาหาร ขนาดขึ้นราแล้วก็กิน หลังจากนั้นกระเพาะมันก็ติดเชื้อตายไปหนึ่งตัว ตัวที่ 2 เพิ่งจะเริ่มเป็นโรคทีหลังเพราะไม่ตะกละเหมือนตัวแรก ผมรีบพามันไปหาหมอ หมอฉีดยา 3 เข็ม เก็บเงิน 200 บาท แล้วให้พามันมาอีกหลังจากนั้น 3 วัน และฉีดยาอีกครั้ง พร้อมทั้งรับยากินมาให้มันกินอีก 2 สัปดาห์มันจึงหายเป็นปรกติ หมอบอกว่าถ้าพามาเร็วก็มีโอกาสหาย แต่ถ้าปล่อยให้เป็นหนักแล้วพามา จะรอดยาก ดังนั้น หากแมวป่วยควรรีบพาไปหาหมอตั้งแต่วันแรกเลย โรคหวัดที่เกิดในแมว หากเป็นแมวเด็กหรือแมวผู้ใหญ่ที่อ่อนแอจะมีโอกาสตายสูง หากเราปล่อยให้มันหายเองไม่พาไปหาหมอ ส่วนใหญ่อาการจะหนักขึ้นและตายในที่สุด ไม่มีคำว่าหายเองตามธรรมชาติ (จากวันที่สังเกตุเห็นว่ามันเป็นหวัด จนถึงวันที่มันตายเพียง 3 วันเท่านั้น) แต่ถ้าเป็นแมวอ้วนกินเก่งถึงเป็นหวัดก็ยังกินเก่งเราให้มันกินหญ้ามันก็หายเองได้สรุปว่า หากพบว่าแมวเป็นหวัด ไม่กินอาหาร ควรรีบพาไปหาสัตวแพทย์ อย่าปล่อยไว้นาน เพราะโรคหวัดแมว ตายเร็วหากแมวที่เป็นหวัดมีขี้ตามากหรือมีหนองจากตาจนลืมตาไม่ได้ ควรหมั่นเช็ดหนองออกจากตาและจมูก และควรพาไปหาสัตวแพทย์อาหารสำหรับแมวท้องเสีย คือ ตับไก่ปิ้ง (อันนี้ ไม่แน่ใจ)ควรให้แมวกินอาหารให้ตรงเวลา ถ้าแมวอดอาหาร มันจะไม่แข็งแรง และเป็นโรคได้ง่ายอย่าให้แมวกินข้าวบูด ควรให้แมวกินข้าวที่คนกินได้ ผมมีประสบการณ์จะเล่าให้ฟังแมวเด็กตัวเล็ก ผมเผลอให้มันกินข้าวบูด หลังจากนั้น มันก็นอนซม ไม่กินข้าว มีน้ำเยิ้มออกจากก้น 2 วัน มันก็ตาย (เป็นอาหารเป็นพิษ ถ้าพาไปหาหมอตั้งแต่วันแรก หมอจะรักษาได้)เย็นวันหนึ่ง ผมนั่งกินขนมเจ เป็นแป้งทอด ผมก็เลยแบ่งให้แมวกินด้วย 1 ชิ้น วันรุ่งขึ้น มันก็นอนซม มีน้ำเยิ้มที่ก้นเหมือนกัน ผมจึงรีบพาไปหาหมอ หมอบอกว่าอาหารเป็นพิษ รักษาอยู่ประมาณ 1 สัปดาห์ แมวตัวนั้นก็หายเป็นปรกติปรกติแมวตัวหลังนี้จะชอบจับหนูแล้วกินหนูด้วย แต่ไม่เคยอาหารเป็นพิษ แต่พอผมเอาขนมแป้งทอดให้กิน มันกลับเป็นอาหารเป็นพิษ ทั้งๆที่ผมก็กินกับมันฯลฯ
การรบกวนจากแมวแมวบางตัวอาจทำให้เพื่อนบ้านรำคาญได้ ตอนกลางคืนควรขังในกรงอย่าให้แมวสกปรกอยู่ในบ้าน เพราะหากท่านนอนหลับ เวลาตื่นขึ้นมาอาจพบว่า แมวนอนอยู่บนหน้าของท่าน หรือกำลังเลียหน้าของท่าน ทำให้ท่านเป็นโรคได้หลังจากจับแมว ไม่ควรจับภาชนะบรรจุอาหารหรือน้ำ หรือสิ่งที่ต้องจับบ่อยๆ เช่น รีโมท และควรล้างมือก่อนกินข้าว เพื่อป้องกันอาหารเป็นพิษ
นิสัยแมวแมวเป็นสัตว์ที่มีความต้องการ อย่างบ้านผมจะมีรูเล็กๆบนชั้น 2 และแมวจะชอบมุดรูนั้นเข้ามาในบ้าน รูนั้นมุดยากมาก เพราะต้องปีนขึ้นหลังคา แล้วโหนมาตามคาน แล้วจึงมุดรูเข้ามา โดยแมวจะต้องรีดตัวเองเพื่อมุดรูเข้ามา ปัจจุบันแมวตัวนั้นตายแล้ว เพราะเส้นเอนเสีย เนื่องจากมุดเข้ามาบ่อยเราคิดไปเองว่า ถ้ามันเจ็บเดี๋ยวมันก็เลิกมุดเอง แต่เนื่องจากมันอยากเข้าบ้าน มันก็จะมุดเข้ามาเรื่อย จนกระทั่งมันเส้นเสีย และตายเพราะขยับตัวไม่ได้ จึงทำให้เราคิดว่า แมวมันไม่รู้จักคาดการณ์ว่าอะไรเป็นอันตรายสำหรับมัน เราซึ่งเป็นคนเลี้ยงจะต้องคอยดูแลว่ามันทำอะไรที่เป็นอันตรายต่อตัวมันเองหรือเปล่า และพยายามอย่าให้มันทำอย่างนั้นในกรณีนี้ ผมควรอุดรูนั้น เพื่อให้มันไม่มุดเข้ามาอีก
การป้อนยาแมวยาเม็ดวิธีที่ 1 - แบ่งเป็น 4 ส่วนเล็กๆ แล้วยัดไว้ในตับไก่ย่าง แล้วปล่อยให้แมวกินตับไก่เองวิธีที่ 2 - ต้มน้ำเดือดละลายน้ำตาลให้เป็นน้ำข้นๆ ประมาณ 1 ช้อน แล้วบดยาเม็ดละลายลงไปในช้อน คนให้เข้ากัน แล้วเอานิ้วจิ้ม ไปป้ายปากแมว แมวจะเลียเองโดยธรรมชาติยาแค็ปซูล - แกะแค็ปซูลออกแล้วทำตามวิธีที่ 2ยาผง - ทำตามวิธีที่ 2ยาน้ำ - ถ้าใช้หลอดฉีดยาฉีดเข้าปากมันไม่ได้ ก็ค่อยๆเอานิ้วจิ้มยาไปป้ายปากมัน
การพาแมวไปหาหมอเดี๋ยวนี้ไม่ต้องลำบากแล้ว เพราะสามารถหาซื้อตระกร้าใบใหญ่ๆที่มีฝาปิดล๊อคได้แล้ว โดยตะกร้านี้มีรูตลอดทุกด้าน ทำให้แมวมีอากาศหายใจ หาซื้อได้ตามห้างใกล้บ้าน
คู่มือการเลี้ยงสุนัข

ขอต้อนรับเข้าสู่โลกของลูกสุนัข
ลูกสุนัขที่ได้มาใหม่จะนำความปิติมาสู่คุณนานหลายปี ในวันข้างหน้าเขาจะมาเป็นสหายที่ใกล้ชิด เพื่อนเล่นที่เป็นมิตรที่ไว้ใจได้ อย่างไรก็ตาม หากปราศจากความพยายามสิ่งนี้ก็จะไม่เกิดขึ้น คุณควรเริ่มฝึกเขา ตั้งเต่ยังเล็กอยู่ เพื่อต้อนรับเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ของครอบครัว ก็เหมือนๆกับเด็กทารกนั่นเอง ลูกสุนัขที่ได้มาใหม่ ต้องการอาหาร การหลับนอน การเล่นและการฝึกที่สม่ำเสมอ ซึ่งก็หมายความว่าเขาต้องการการดูแล และเอาใจใส่อย่างมาก เราตระหนักดีว่าเจ้าของลูกสุนัขที่มาใหม่มีความผูกพันกันอย่างมาก เราจึงนำท่านและลูกสุนัขมาอยู่ด้วยกันเพื่อจะได้เริ่มต้นอย่างถูกต้อง ซึ่งประกอบด้วยเคล็ดลับเบื้องต้นเกี่ยวกับในวันแรกที่เขาเข้ามาอยู่ในบ้าน เป็นต้นว่า ที่อยู่ของลูกสุนัข การเคี้ยวและการฝึกในบ้าน เป็นต้น
ที่อยู่ของลูกสุนัข
ลูกสุนัขต้องการที่อยู่ที่เป็นส่วนตัว หากล่องหรือที่นอนสำหรับสุนัขไว้ในคอกที่อบอุ่นและมีมุมที่ไม่มีลมโกรก (กรงสุนัขที่ใช้ในเวลาการเดินทางจะได้เปรียบ เพราะสามารถนำมาใช้ได้ตลอดอายุขัยของเขา ถ้าจะซื้อมาใช้ ต้องให้มีขนาดใหญ่พอเมื่อเขาโตเต็มที่) เขาจะใช้กรงเป็นสถานที่พักผ่อนนอนหลับและรู้สึกปลอดภัยและอุ่นใจ เอากล่องกระดาษหรือกล่องไม้วางด้านข้างลงทำเป็นเตียงนอนที่มิดชิด เขาก็จะยิ่งรู้สึกปลอดภัย เหตุผลก็คือว่า บรรพบุรุษซึ่งคล้ายกับหมาป่าของเขาเคยอาศัยถ้ำเป็นบ้านพัก โดยสัญชาตญาณลูกสุนัขก็จะรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัยในที่ที่คล้ายกับถ้ำ อาจจะปูพื้นด้วยผ้าเช็ดตัว หรือผ้าห่มเก่าๆที่อยู่ของเขาก็จะสมบูรณ์แบบ เมื่อเขาอยู่ในที่ของเขา อย่าได้รบกวนหรือดึงตัวเขาออกมา ควรให้เขาออกมาเองอย่าให้เด็กๆ รบกวนหรือเย้าแหย่เขาเล่น เขาต้องการความรู้สึกปลอดภัยถ้าเขาอยู่ในที่ของเขา อย่ากักขังเขาในกรงเป็นเวลานานๆ ถ้าเขาทำอะไรผิดก็อย่าได้ไล่เขาเข้าไปในกรง การทำอย่างนั้นจะทำให้เขารู้สึกว่ามันเป็นที่ทำโทษเขา แทนที่จะเป็นสถานที่พักที่มีความสุขสบาย คุณควรจะรู้สึกสบายใจที่ลูกสุนัขมีที่ของตัวเอง เขาจะไปงีบหรือขดตัวนอนอย่างมีความสุขตลอดคืน โดยไม่เห่าหรือร้องคราง และคุณก็รู้ว่าเขาจะไม่ก่อความเดือดร้อนให้แม้คุณจะไม่คอยเฝ้าดูเขาก็ตาม
การเคี้ยว
ฟันของลูกสุนัขจะขึ้นอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 3 ถึง 6 เดือน ในช่วงนี้ควรจะให้ อะไรเขาเพื่อขบเคี้ยว เพื่อช่วยในการขึ้นของฟัน ลูกสุนัขจะกัดสิ่งของโดยไม่เลือก เขาไม่รู้ว่านั่นคือรองเท้าคู่ที่ดีที่สุดของคุณ หรือมันคือขาโต๊ะที่เป็นวัตถุโบราณเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่เกิดจากลูกสุนัข ขอแนะนำให้หาของขบเคี้ยวที่ไม่แตกหักหรือเป็นภัยกับลูกสุนัขเพื่อจะขบเคี้ยวเล่น เช่น ลูกบอลยางที่โตและแข็งพอที่เขาจะกลืนไม่ได้ หรืออาจจะเป็นกระดูกเทียม คุณอาจจะให้รองเท้าเก่าๆ หรือวัสดุที่มีรูปร่างคล้ายรองเท้าเหมือนของคน เพราะสุนัขคิดว่าจะเป็นรองเท้าอะไรก็ได้ทั้งนั้นเพื่อความสนุกสนาน อย่าให้กระดูกจริงทั้งสุกและดิบก็ตาม เพราะกระดูกแตก ทำให้เกิดบาดแผลในปากหรือติดคอในขณะที่เขากลืนเศษกระดูกเข้าไป หาทางทำให้กระดูกเทียมและลูกบอลเป็นที่ดึงดูดสำหรับลูกสุนัข โดยที่คุณนำสิ่งเหล่านั้นมาเล่นเกมส์กับเขา เมื่อไรก็ตามหากลูกสุนัขเขาเริ่มจะกัดแทะสิ่งของที่ต้องห้ามก็รีบนำกระดูกเทียมหรือลูกบอลให้แทน ออกคำสั่งว่า "อย่า" อย่างขึงขังแล้วนำสิ่งของที่มีค่าออกห่างจากเขา เมื่อเห็นว่าเขาเริ่มกัดแทะของที่เราให้เขา ก็ให้กล่าวชมความประพฤติที่ดี แล้วจะรู้สึกว่าจะมีการตอบสนองอย่างมีความสุข ช่วยให้ลูกสุนัขให้อยู่ห่างไกลจากสิ่งที่เป็นโทษ เป็นต้นว่า น้ำยาทำความสะอาดทินเนอร์ สารเคมีที่ใช้ในบ้านเรือน และสิ่งของที่มีอันตราย โดยเก็บสิ่งเหล่านั้นในตู้ที่ล็อกกุญแจได้
การฝึกในบ้าน
ควรฝึกลูกสุนัขโดยทันที เริ่มจากการให้อาหารลูกสุนัขเป็นเวลาและพาออกไปเที่ยวนอกบ้านบ่อยๆ ถ้าหากคุณเลี้ยงลูกสุนัขของคุณด้วยอาหารของลูกสุนัขของยูคานูบาหรืออามส์สำหรับลูกสุนัข จะพบว่าเวลาในการฝึกจะสั้นลงเนื่องจากการให้อาหารและการขับถ่ายจะเป็นกิจวัตรจะมีสิ่งบอกเหตุซึ่งคุณคุณต้องคอยสังเกตว่า ถึงเวลาที่จะต้องนำลูกสุนัขออกไปนอกบ้าน ในกรณีที่ลูกสุนัขเดินไปตามพื้นเป็นรูปวงกลม นั่งหรือร้องครางอยู่ที่ประตู หรือถ้าคุณมองเห็นสุนัขของคุณมองคุณด้วยสายตาวิงวอน และกระวนกระวาย นั่นแสดงว่าเป็นเวลาที่คุณควรจะนำเขาออกไปข้างนอกหลังจากที่ลูกสุนัขปัสสาวะเสร็จ ให้ชมเขาอย่างเงียบๆ แล้วนำเขาเข้ามาในบ้านในไม่ช้าเขาก็จะเชื่อมโยงการปัสสาวะนอกบ้านกับคำชมเชยของคุณ
เมื่อไหร่ถึงจะพาลูกสุนัขออกไปนอกบ้าน- หลังจากพระอาทิตย์ขึ้นเพียงเล็กน้อย สำหรับลูกสุนัขส่วนใหญ่ - หลังจากการงีบของเขา - หลังจากกลับบ้านมาหาเขา ซึ่งปล่อยให้อยู่โดยลำพัง - หลังอาหารโดยทันที - หลังจากที่คุณจะพักผ่อน เมือไรก็ตามที่ลูกสุนัขจ้องมองคุณ
แล้วเขาก็กระตือรือร้นที่จะเอาใจคุณ บางครั้งอาจจะพบว่ามีการขับถ่ายเลอะเทอะ คุณก็ไม่ควรขึ้นเสียงหรือตบตีเขาหรือจับเขาดมสิ่งที่เขาขับถ่ายออกมา ในขณะที่เขาอาจจะหมอบคุดคู้ด้วยความหวาดกลัว เขายังเล็กเกินไปที่จะโดนการดุว่าในเรื่องการขับถ่ายที่เลอะเทอะ ถ้าคุณพบเขากำลังถ่ายอยู่ ก็จงรีบนำเขาออกไปนอกบ้านเพื่อให้เขาขับถ่ายจนสุดแล้ว ให้กล่าวชมในความพยายามของเขา การทำความสะอาดสิ่งขับถ่ายที่เลอะเทอะ สารดับกลิ่นและสารขับไล่แมลงจะช่วยได้มาก อย่าใช้สารทำความสะอาดที่มีแอมโมเนียเป็นส่วนผสม แม้ว่าในทางเคมีแอมโมเนียและยูรีน จะมีส่วนคล้ายคลึงกันเมื่อทำความสะอาด ควรจะต้องให้แห้งสนิท หาไม่แล้วลูกสุนัขของคุณจะกลับมาสูดดมกลิ่นที่ทำให้เลอะเทอะและอาจจะถูกกระตุ้นให้ทำความเลอะเทอะอีก
การเลี้ยงดูสุกร

พ่อสุกรที่จะนำมาใช้เป็นพ่อพันธุ์ ควรมีอายุ 8 เดือนขึ้นไป ให้อาหารโปรตีน 16 % ให้กินอาหารวันละ 2 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับสภาพของพ่อสุกรด้วยว่าไม่อ้วนและผอมเกินไป
การจัดการแม่สุกร
ให้อาหารโปรตีน 16% ให้กินอาหารวันละ 2 กิโลกรัม แม่สุกรสาวควรมีอายุ 7-8 เดือน น้ำหนัก 100-120 กิโลกรัม จึงนำมาผสมพันธุ์ (เป็นสัดครั้งที่ 2-3) ผสมพันธุ์ 2 ครั้ง (เช้า-เช้า , เย็น-เย็น) เมื่อผสมพันธุ์แล้วควรลดอาหารให้เหลือ 1.5-2 กิโลกรัม เมื่อตั้งท้องได้ 90-108 วัน ควรเพิ่มอาหารเป็น 2-2.5 กิโลกรัม และเมื่อตั้งท้องได้ 108 วันคลอดลูก ให้ลดอาหารลงเหลือ 1-1.5 กิโลกรัม (ปกติสุกรจะตั้งท้องประมาณ 114 วัน) แม่สุกรควรอยู่ในสภาพปานกลาง คือ ไม่อ้วน หรือผอมเกินไป แม่สุกรจะให้ลูกดีที่สุดในครอกที่ 3-5 และควรคัดแม่สุกรออกในครอกที่ 7 หรือ8 (แม่สุกรให้ลูกเกินกว่าครอก ที่ 7 ขึ้นไป มักจะให้จำนวนลูกสุกรแรกคลอด มีชีวิต และจำนวนสุกรหย่านมลดลง)
การจัดการแม่สุกรก่อนคลอด ระวังอย่าให้แม่สุกรเจ็บป่วยหรือท้องผูก ควรจัดการ ดังนี้ แม่สุกรก่อนคลอด 7 วัน ให้อาบน้ำด้วยสบู่ทำความสะอาดแม่สุกร โดยเฉพาะราวนม บั้นท้าย อวัยวะเพศ แล้วพ่นอาบด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (ละลายน้ำ ตามอัตราส่วน) และพ่นยาพยาธิภายนอก แล้วนำเข้าคอกคลอด ก่อนแม่สุกรคลอด 4 วัน ควรลดอาหารลงเหลือ 1-1.5 กิโลกรัม/วัน ควรผสมรำละเอียดเพิ่มอีก 20 % ในอาหาร โดยให้แม่สุกรกิน 4-6 วันก่อนคลอด หรือผสมแม็กนีเซียมซัลเฟต (ดีเกลือ) ประมาณ 10 กรัม โดยคลุกอาหารให้ทั่วให้แม่สุกรกินวันละครั้ง 1-3 วันก่อนคลอด เพื่อป้องกันแม่สุกรท้องผูก ช่วยลดปัญหาแม่สุกรคลอดยาก ดูแลแม่สุกรอย่างใกล้ชิด อย่าให้แม่สุกรป่วย เช่น สังเกตรางอาหารว่าแม่สุกรกินอาหารหมดหรือไม่ ถ่ายอุจจาระเป็นเม็ดกระสุน ท้องเสีย หอบแรง เป็นต้น ถ้าแม่สุกรป่วยก็ควรรักษาตามอาการ คอกคลอด ก่อนนำแม่สุกรเข้าคอกคลอด คอกคลอดต้องสะอาด ราดหรือพ่นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค และโรยปูนขาว ต้องมีอาการพักคอกไว้อย่างน้อย 7 วัน ซึ่งจะเป็นการตัดวงจรของเชื้อโรค
การจัดการลูกสุกรเมื่อคลอด
แม่สุกรก่อนคลอด 24 ชั่วโมง จะมีน้ำนมไหลออกมาจากเต้านม ลูกสุกรแรกคลอดควรดูแลปฏิบัติ ดังนี้ ใช้ผ้าที่สะอาดหรือฟางเช็ดตัวลูกสุกรให้แห้ง ควักเอาน้ำเมือกในปากและในจมูกออก การตัดสายสะดือ ใช้ด้ายผูกสายสะดือให้ห่างจากพื้นท้องประมาณ 1-2 นิ้ว ตัดสายสะดือด้วยกรรไกร ทารอยแผลด้วยทิงเจอร์ไอโอดีนเพื่อฆ่าเชื้อโรค ตัดเขี้ยวออกให้หมด (เขี้ยวมี 8 ซี่ ข้างบน 4 ซี่ ข้างล่าง 4 ซี่ ) เพื่อป้องกันลูกสุกรกัดเต้านมแม่สุกรเป็นแผลในขณะแย่งดูดนม รีบนำลูกสุกรกินนมน้ำเหลืองจากเต้านมแม่สุกรในนมน้ำเหลืองจะมีสารอาหาร และภูมิคุ้มกันโรค ปกตินมน้ำเหลืองจะมีอยู่ประมาณ 36 ชั่วโมง หลังคลอด จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นน้ำนมธรรมดา
การจัดการลูกสุกรแรกคลอด-หย่านม
ลูกสุกรในระยะ 15 วันแรก ต้องการความอบอุ่น ต้องจัดหา ลูกสุกรอายุ 1-3 วัน ให้ฉีดธาตุเหล็กเข้ากล้ามเนื้อตัวละ 2 ซี.ซี เพื่อป้องกันโรคโลหิตจาง ลูกสุกรอายุ 10 วัน เริ่มให้อาหารสุกรนมหรืออาหารสุกรอ่อน (อาหารเลียราง) เพื่อฝึกให้ลูกสุกรกินอาหาร โดยให้กินทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง ลูกสุกรทั่วไปหย่านมเมื่ออายุ 28 วัน (4 สัปดาห์)
ไฟกกลูกสุกร
กล่องกระสอบ
การจัดการลูกสุกรเมื่อหย่านม
หย่านมลูกสุกรเมื่ออายุ 28 วัน น้ำหนักประมาณ 6 กิโลกรัม ควรย้ายแม่สุกรออกไปก่อนให้ลูกสุกรอยู่ในคอกเดิมสัก 3-5 วัน แล้วจึงย้ายลูกออกไปคอกอนุบาล เพื่อป้องกันลูกสุกรเครียด และควรใช้วิตามินหรือยาปฏิชีวนะละลายน้ำให้ลูกสุกรกินหลังจากหย่านมประมาณ 3-5 วัน ลูกสุกรอายุ 6 สัปดาห์ ให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์สุกรและฉีดวัคซีนซ้ำทุก ๆ 6 เดือน ในสุกรพ่อแม่พันธุ์(วัคซีนมีความคุ้มโรคได้ประมาณ 6-12 เดือน) ลูกสุกรอายุ 7 สัปดาห์ ให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย่ และฉีดวัคซีนซ้ำทุก ๆ 4-6 เดือน ในสุกรพ่อแม่พันธุ์ (วัคซีนมีความคุ้มโรคได้ประมาณ 4-6 เดือน) ลูกสุกรอายุ 2 เดือนครึ่ง ควรให้ยาถ่ายพยาธิ และให้ซ้ำหลักจากให้ครั้งแรก 21 วัน ในสุกรพ่อแม่พันธุ์ควรถ่ายพยาธิทุก ๆ 6 เดือน
การจัดการแม่สุกรหลังคลอด
ฉีดยาปฏิชีวนะ ให้แม่สุกรหลังคลอดทันทีติดต่อกันเป็นเวลา 1-2 วัน เพื่อป้องกันมดลูกอักเสบ (ยาเพนสเตร็ป, แอมพิซิลิน, เทอร์รามัยซิน เป็นต้น หลังคลอด 1-3 วัน ควรให้อาหารแม่สุกรน้อยลง(วันละ 1-2 กิโลกรัม) และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนให้อาหารเต็มที่เมื่อหลังคลอด 14 วัน (ให้อาหารวันละ 4-6 กิโลกรัม) จนกระทั่งแม่สุกรหย่านม ระวังอย่าให้แม่สุกรผอมเมื่อหย่านม ซึ่งจะมีผลทำให้แม่สุกรไม่สมบูรณ์พันธุ์ และโทรมมาก แม่สุกรหลังหย่านมควรขังรวมกันคอกละประมาณ 2-5 ตัว (ขนาดใกล้เคียงกัน) เพื่อให้เกิดความเครียดจะเป็นสัดง่ายและจะเป็นสัดภายใน 3-10 วัน ถ้าแม่สุกรเป็นสัดทำให้การผสมพันธุ์ได้เลย
ปัญหาแม่สุกรไม่เป็นสัด สุกรสาวหรือเม่สุกรหลังจากหย่านมแล้วไม่เป็นสัด หรือเป็นสัดเงียบ จะพบเห็นได้บ่อย ๆ มีวิธีแก้ไข ดังนี้ 1. ต้อนแม่สุกรมาขังรวมกัน เพื่อให้เกิดความเครียด 2. เลี้ยงพ่อสุกรอยู่ใกล้ ๆ หรือให้พ่อสุกรเข้ามาสัมผัสแม่สุกรบ้าง .
การผสมพันธุ์เพื่อให้ได้ลูกดก
1. คัดเลือกสายแม่พันธุ์ เช่น ควรใช้แม่พันธุ์ เช่น ควรใช้แม่พันธุ์ลาร์จไวท์ แม่พันธุ์แลนด์เรซ หรือลูกผสมแลนด์เรซ-ลาร์จไวท์ 2. ผสมเมื่อแม่สุกรเป็นสัดเต็มที่ ซึ่งจะทำให้ไข่ตกมากจะอยู่ช่วงวันที่ 2-3 ของการะเป็นสัด ผสม 2 ครั้ง ห่างกัน 24 ชี่วโมง (เช้า-เช้า , เย็น-เย็น) 3. ถ้ามีพ่อสุกรหลายตัว และผลิตสุกรขุนเป็นการค้าควรใช้พ่อสุกร 4. แม่สุกรหลังจากหย่านมแล้ว 1 วัน ควรเพิ่มอาหารให้จนกระทั่งเป็นสัด โดยให้อาหารวันละ 3-4 กิโลกรัม (ไม่เกิน 15 วัน) เพื่อทำให้ไข่ตกมากขึ้น และเมื่อผสมพันธุ์แล้ว ให้ลดอาหารแม่สุกรลงเหลือวันละ 1.5-2 กิโลกรัม ตามปกติ
การเลี้ยงหนูแฮมสเตอร์
หนูแฮมสเตอร์เป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่ายไม่ยุ่งยากการเริ่มเลี้ยงนั้นมีเพียงเตรียมกรงที่แ็ข็งแรงขนาดไม่เล็ก
จนเกินไป อากาศไหลผ่านสะดวกถ้าสถานที่เลี้ยงอากาศร้อน ส่วนน้ำก็ใช้เป็นแบบหลอดน้ำแบบหนูดูด
ได้ ราคาขายจะอยู่ราวๆ 25 - 100 บาท และขี้เลื่อย หรือซังข้าวโพดตามแต่จะสะดวกหาได้ ส่วน อาหาร
ก็ได้แก่พวก เมล็ดทานตะวัน ข้าวนกเขาต่างๆ อาหารแมว หรือ สามารถซื้อสำเร็จรูปก็ได้ โดยถ้าผสมเอง
จะราคาประมาณ 50-70 บาทต่อกิโล ถ้าซื้อสำเร็จรูปจะตกอยู่ประมาณ 100-200 บาทต่อกิโล แต่การซื้ออาหารสำเร็จรูปจะมีผลไม้อบแห้งซึ่งหนู
ชอบด้งนั้นถ้าอยากเอาใจหนูแฮม ก็ควรนำอาหารเหล่านี้ผสมกับอาหารที่เราผสมเองก็ได้
การเลี้ยงปลาแรด
ข้อจำกัดในการเลี้ยงปลาในกระชัง
1. สภาพแวดล้อมในบริเวณที่ตั้งกระชังต้องเหมาะสม เช่น คุณภาพของน้ำ ต้องดีมีปริมาณออกซิเจนพอเพียง กระแสน้ำไหลในอัตราที่พอเหมาะและไม่เกิดปัญหา โรคปลาตลอดระยะเวลาที่เลี้ยง สถานที่ตึงกระชังควรตั้งอยู่ในบริเวณที่กำบังลมหรือ คลื่นแรง ในกรณีที่เกิดพายุหรือน้ำท่วมโดยเฉียบพลัน
2. ปลาที่ปล่อยเลี้ยงควรมีขนาดใหญ่กว่าตาหรือช่องกระชัง หากปลามีขนาดเล็ก หรือเท่ากับขนาดของช่องกระชัง ปลาจะลอดหนีจากกระชังไป หรือถ้าไม่ลอดก็จะเข้าไป ติดตายอยู่ในระหว่างช่องกระชังได้
3. ปลาที่เลี้ยงควรมีลักษณะรวมกินอาหารพร้อมๆ กันในทันทีที่ให้อาหาร เพื่อให้ปลากินอาหารให้มากที่สุดก่อนที่อาหารจะถูกกระแสน้ำพัดพาออกไปนอกกระชัง
4. ในกรณีที่แหล่งน้ำเลี้ยงผิดปกติ เช่น เกิดสารพิษ น้ำมีปริมาณมากหรือน้อยในทันที อาจจะเกิดปัญหากับปลาที่เลี้ยงยากต่อการแก้ไข หากประสบปัญหาดังกล่าวควรขนย้ายปลาไปเลี้ยงที่อื่น
ที่มาhttp://www.geocities.com/ham_in_love/information/information.htm